top of page
Search

เกร็ดความรู้ : มารู้จักความหมายของคำว่า "พลาสติก" กันเถอะ

  • Writer: ConservativeTourism
    ConservativeTourism
  • Aug 15, 2018
  • 1 min read

พลาสติก

( ที่มา : http://www.deemarkthailand.com )


พลาสติก มาจากคำในภาษากรีก ซึ่งแปลว่า ทำให้เป็นรูปร่างได้ ในปัจจุบันพลาสติกมีความหมายว่า เป็นสารอินทรีย์สังเคราะห์ ที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น ซึ่งในขณะที่กำลังอยู่ในกรรมวิธีสังเคราะห์ และยังร้อนอยู่จะมีลักษณะเป็นของเหลวข้น สามารถนำไปหล่อหรืออัด ในแบบให้เป็นรูปร่างต่าง ๆ หรืออัดฉีดให้เป็นเส้นมีขนาดต่าง ๆ กันได้ เมื่อปล่อยให้เย็นลง จะแข็งตัวคงรูปร่างอยู่ได้

พลาสติก เป็นสารประเภทพอลิเมอร์ ที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่มาก ซึ่งประกอบด้วยสารย่อยที่เรียกว่า มอนอเมอร์ ชนิดที่มีโมเลกุลขนาดเล็กจำนวนมาก มาเชื่อมโยงอย่างต่อเนื่องเข้าด้วยกัน พลาสติก เป็นสารที่มีบทบาทสำคัญเกี่ยวข้องอยู่ในชีวิตประจำวัน และในอุตสาหกรรมต่าง ๆ อย่างมากมาย เหลือที่คณานับ และจะยิ่งมีบทบาทสำคัญทวียิ่งขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะก็คือ พลาสติกชนิที่มีสมบัติแข็งแรง ทุนทานต่อการสึกกร่อนยิ่งกว่าโลหะหลายชนิด

ในปี พ.ศ.2412 ได้มีผู้ค้นพบพลาสติกชนิดหนึ่ง เรียกโดยทั่วไปว่า เซลลูลอยด์  ได้มีผู้นำไปทำลูกบิลเลียด หัวและฟิล์มถ่ายรูป ในปี พ.ศ.2478 มีผู้ค้นพบและสังเคราะห์พอลิเมอร์ ชนิดซูเปอร์พอลิเมอร์ได้สำเร็จ ซึ่งต่อมาเรียกกันว่า ไนลอน จากนั้น ก็ได้นำวิธีการสังเคราะห์ไปประยุกต์ เพื่อผลิตพลาสติกชนิดนี้ไปใช้ประโยชน์มากมาย

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ได้มีการค้นคว้าและสังเคราะห์มอนอเมอร์ ขึ้นได้มากชนิด ในบรรดาพลาสติกชนิดต่าง ๆทั้งหมดนั้น จัดแบ่งออกได้เป็นสองประเภทคือ


1. เทอร์โมพลาสติก



เทอร์โมพลาสติก คือ พลาสติกประเภทที่เมื่อทำสำเร็จรูปแล้ว ทิ้งให้เย็นก็จะแข็งตัวคงรูปร่างอยู่ได้ และถ้าทำให้ร้อนก็จะอ่อนตัวที่สุด จะเป็นของเหลวข้นหนืด ซึ่งนำไปหล่อ อัดหรือรีด ให้เป็นรูปร่างต่าง ๆ ได้อีก พลาสติกประเภทนี้มีหลายชนิด เช่น ไนลอน


2. เทอร์โมเซตติงพลาสติก

( ที่มา : http://cherrygrrl.com )

เทอร์โมเซตติงพลาสติก คือ พลาสติกประเภทที่เมื่อทำสำเร็จรูปแล้ว ทิ้งให้เย็นก็จะแข็งตัวคงรูปร่างได้อย่างถาวร และถ้าให้ความร้อนสูงก็จะไม่อ่อนตัวอีกเลย

---------------------------------------------------------------------------------------------------------

โดยที่พลาสติกเป็นสารที่เสื่อมสลายและแปรสภาพไปได้ยาก จึงเป็นปัญหายุ่งยากมาก ในการทำลาย


ที่มา : https://www.baanjomyut.com/library/knowledge_of_encyclopedias/510.html

 
 
 

Comments


  • facebook

©2018 by รักษ์โลกง่ายๆ เริ่มได้ที่ตัวเราเอง. Proudly created with Wix.com

bottom of page